หลังจากที่ผมเริ่มเพาะถั่วพูมาวันนี้วันที่ 16-7-2012 ถั่วพูของผมก็เริ่มออกดอกแล้วละครับ ระหว่างที่รอถั่วพูออกดอกนั้นผมก็จะดูแลลดน้ำทุกเย็น บางวันผมเห็นว่าดินยังเปียกอยู่ผมก็จะไม่ลด จริง ๆ แล้วผมไม่อยากจะลดน้ำมากนักเนื่องจากเป็นน้ำประปา ซึ่งมีคลอรีน อยู่เยอะก็เลยลดวันเว้นวันบ้างเว้น สองวันบ้างแล้วแต่สะดวกของตนเองด้วยครับมาดูดอกถั่วพูกันดีกว่าว่ามีลักษณะอย่างไร
รูปนี้ท่านจะเห็นดอกถั่วพูกำลังตูมเลยละครับผมถ่ายเมื่อวันที่ 15-7-2012 เวลา 18.00 น. เนื่องจากเพิ่งกลับมาจากทำงานก็เพิ่งจะสังเกตเห็นว่าถั่วพูของผมติดดอกเข้าให้แล้วครับ
พอตื่นขึ้นมาตอนเช้าก็ปรากฎว่า ดอกถั่วพูบานสะพรั่ง อมม่วงนิด ๆ ด้วยครับเห็นแล้วภาคภูมิใจอย่างมากเนื่องจากผมจะเพาะพันธุ์ถั่วพูไว้ปลูกที่บ้านนอกของผมไงละครับเพราะที่บ้านนอกมีที่ดินมากพอที่จะปลูกอะไรได้หลาย ๆ อย่างด้วยกันเลยครับ
โปรดติดตามตอนต่อไปนะครับ ว่าหลังจากออกดอกแล้วจะติดฝักเมื่อไรกันครับ เพราะผมก็อยากจะกินถั่วพูในฝีมือการปลูกของผมว่ามีรสชาดเป็นแบบไหนกัน
ถั่วพู หรือผักพูที่อยู่คู่คนไทยมานานแสนนานวันนี้เรามาปลูกถั่วพูไร้สารพิษทานกันเองที่บ้านเพียงต้นเดียวก็เพียงพอต่อหนึ่งครัวเรือน
Monday, July 16, 2012
Friday, May 18, 2012
การปลูกถั่วพูในกระถางเพื่อความมั่นคงทางอาหาร
หลายคนรู้ว่ามีถั่วชนิดนึงที่หน้าตาประหลาด กินอยู่กันทุกวันแม้จะเดินไปในตลาดก็พบเห็นอยู่บ่อย ๆ ถึงแม้จะไม่เคยได้กินถั่วพูเลยแต่ทุกคนก็รู้จักเป็นอย่างดีกับหน้าตา ลักษณะของถั่วพู แต่มีน้อยคนมากที่จะรู้ว่าถั่วพูไม่เพียงแต่เป็นผักที่รับประทานได้เพียงอย่างเดียว ถั่วพูกับมีคุณค่าทางอาหารที่จำเป็นร่างกายของเราเป็นอย่างมาก เรามาดูหน้าตาและสรรพคุณของถั่วพูกันก่อนเพื่อเป็นแรงใจในการปลูกถั่วพู
การกินถั่วพูก็ยังมีกาก ใยอาหารมากทำให้ระบบขับถ่ายของเราเป็นไปอย่างปกติ ท้องไม่ผูก นอกจากนั้นแล้วหัวของถั่วพูก็สามารถนำไปตากแห้งแล้วคั่วไฟให้เหลืองนำมาชง เป็นน้ำดื่มชูกำลังสำหรับคนป่วยหรืออ่อนเพลียง่ายได้อีกด้วย
คุณค่าทางอาหารของถั่วพู
ถั่ว พู 100 กรัม ให้พลังงาน 19 กิโลแคลอรี ประกอบด้วย น้ำ 93.8 กรัม คาร์โบไฮเดรต 2.4 กรัม โปรตีน 2.1 กรัม ไขมัน 0.1 กรัม เส้นใย 1.2 กรัม แคลเซียม 5 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 43 มิลลิกรัม เหล็ก 0.5 มิลลิกรัม ไนอะซิน 0.8 มิลลิกรัม วิตามินบี1 0.35 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.14 มิลลิกรัม วิตามินซี 32 มิลลิกรัม
สรรพคุณของถั่วพู
- หัวใช้บำรุงร่างกาย แก้อ่อนเพลีย แก้ร้อนใน กระหายน้ำ แก้ไข้กาฬ
- ราก แก้โรคลมพิษกำเริบ ดีฟุ่ง ทำให้คลั่งเพ้อ ปวดท้อง ถั่วพูใช้รักษาสิวและโรคผิวหนังบางชนิด
- ตำรายาโบราณว่า ให้นำเมล็ดถั่วพลูมาต้มโดยคัดเอาเฉพาะเมล็ดแก่สีน้ำตาลเข้มจะรับประทานเมล็ด ที่ต้มสุกเลยก็ได้ หรือนำเมล็ดที่ต้มสุกมาบดให้ละเอียดผสมน้ำสุกดื่มก่อนอาหาร 3 เวลา จะช่วยให้สุขภาพแข็งแรงเพิ่มกำลังวังชา
สมัยนี้นะถั่วพูเป็นพืชผักที่ราคาแพงมากสำหรับทุกคนเลยทีเดียว หลายคนไม่ใส่ใจกับการปลูกถั่วพูไว้ทานเอง เนื่องจากเหตุผลหลายประการสุดที่จะบรรยายได้ ขอยกตัวอย่างสำหรับผู้ที่ปลูกถั่วพูไม่กัน
เนื่องจากว่าตอนนั้นผมยังไม่มีกระถางสำหรับปลูกถั่วพูเพราะต้องรอให้แม่ใช้น้ำยาปรับผ้านุ่มให้หมดก่อนแล้วจึงนำมาเจาะรูระบายน้ำ และตัดปากถังออกเพื่อจะใส่ดินลงไป ผมจึงนำเมล็ดถั่วพูไปเพาะก่อน ผมเพาะตั้งแต่วันที่ 15/5/2012 แล้วก็ยังไม่เห็นว่าจะโพล่พ้นดินขึ้นมาครับ เพราะฉะนั้น รอกันต่อไป แล้วค่อยมาอัปเดทกันต่อ
สาเหตุที่ผมเพาะเมล็ดถั่วพลูไว้ในกระถาง ? ไม่กี่เหตุผลที่ผมต้องเพาะเมล็ดพืชผักไว้ในกระถางใบเล็ก ๆ ก็คือ
หน้าถั่วพูเป็นอย่างนี้ |
สรรพคุณ และ ประโยชน์ของถั่วพู
ถั่วพู หรือ ผักถั่วพู อีกหนึ่งผักที่มีคุณค่าทางอาหารที่ดีต่อร่างกายและมีคุณสมบัติเป็นสมุนไพร ได้อีกด้วยค่ะ และวันนี้เราก็นำความรู้ของ สรรพคุณของถั่วพู และ ประโยชน์ของถั่วพู มาฝากกันอีกเช่นเคย เพื่อให้คุณ ๆ ได้รู้จักกับ สรรพคุณของถั่วพู และ ประโยชน์ของถั่วพู เพื่อให้รับสารอาหารที่ช่วยรักษาโรคและมีประโยชน์ที่ดีต่อร่างกายค่ะ คนส่วนใหญ่ชอบทานยำถั่วพูกันค่ะนั้นเราก็มาดูสรรพคุณของถั่วพูและประโยชน์ ของถั่วพูกันเลยดีกว่าสรรพคุณ / ประโยชน์ของถั่วพู
ประโยชน์ของถั่วพูการกินถั่วพูก็ยังมีกาก ใยอาหารมากทำให้ระบบขับถ่ายของเราเป็นไปอย่างปกติ ท้องไม่ผูก นอกจากนั้นแล้วหัวของถั่วพูก็สามารถนำไปตากแห้งแล้วคั่วไฟให้เหลืองนำมาชง เป็นน้ำดื่มชูกำลังสำหรับคนป่วยหรืออ่อนเพลียง่ายได้อีกด้วย
คุณค่าทางอาหารของถั่วพู
ถั่ว พู 100 กรัม ให้พลังงาน 19 กิโลแคลอรี ประกอบด้วย น้ำ 93.8 กรัม คาร์โบไฮเดรต 2.4 กรัม โปรตีน 2.1 กรัม ไขมัน 0.1 กรัม เส้นใย 1.2 กรัม แคลเซียม 5 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 43 มิลลิกรัม เหล็ก 0.5 มิลลิกรัม ไนอะซิน 0.8 มิลลิกรัม วิตามินบี1 0.35 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.14 มิลลิกรัม วิตามินซี 32 มิลลิกรัม
สรรพคุณของถั่วพู
- หัวใช้บำรุงร่างกาย แก้อ่อนเพลีย แก้ร้อนใน กระหายน้ำ แก้ไข้กาฬ
- ราก แก้โรคลมพิษกำเริบ ดีฟุ่ง ทำให้คลั่งเพ้อ ปวดท้อง ถั่วพูใช้รักษาสิวและโรคผิวหนังบางชนิด
- ตำรายาโบราณว่า ให้นำเมล็ดถั่วพลูมาต้มโดยคัดเอาเฉพาะเมล็ดแก่สีน้ำตาลเข้มจะรับประทานเมล็ด ที่ต้มสุกเลยก็ได้ หรือนำเมล็ดที่ต้มสุกมาบดให้ละเอียดผสมน้ำสุกดื่มก่อนอาหาร 3 เวลา จะช่วยให้สุขภาพแข็งแรงเพิ่มกำลังวังชา
สมัยนี้นะถั่วพูเป็นพืชผักที่ราคาแพงมากสำหรับทุกคนเลยทีเดียว หลายคนไม่ใส่ใจกับการปลูกถั่วพูไว้ทานเอง เนื่องจากเหตุผลหลายประการสุดที่จะบรรยายได้ ขอยกตัวอย่างสำหรับผู้ที่ปลูกถั่วพูไม่กัน
- ไม่มีที่ดินสำหรับการปลูกถั่วพู หรือไม่มีพื้นที่สำหรับการปลูก ซึ่งข้อนี้สำคัญมากเนื่องจากหากหลายคนอยู่ห้องเช่าแน่นอนล่ะ ทุกสิ่งทุกอย่างเราต้องซื้อมาทานกันเสียเป็นส่วนใหญ่
- ไม่มีเวลาในการปลูกถั่วพู ชีวิตของคนส่วนใหญ่แล้วมักจะให้ความสำคัญกับงานหรือเพื่อนฝูง และงานสังคมมากเกินไป จนลืมความมั่นคงทางอาหารกันไปหมด
- สนใจหากแต่เงิน หลายคนและหลายบ้านสนใจหาแต่เงินกันโดยไม่คำนึงถึงเลยว่าหากท่านปลูกผักทานกันเองแล้วจะช่วยประหยัดรายจ่ายเป็นอย่างมากเลยทีเดียว
- ไม่สนใจที่จะปลูกผัก คนกลุ่มนี้มีที่ดิน มีพื้นที่บริเวณพอที่จะปลูกผักสวนครัวไว้ทานกันเองแต่ไม่สนใจที่จะปลูกกลับไปปลูกต้นไม้ประดับ ต้นไม้ที่คิดว่าเป็นฮวงจุ้ยที่ดีให้กับชีวิต แต่สำหรับผมแล้วไม่คิดเช่นนั้น พืชผักก็สามารถนำมาทำเป็นไม้ประดับได้แถมยังทานได้อีกด้วย แนวคิดของผมคือเมื่อเสียน้ำรดต้นไม้ไปแล้วต้องได้สิ่งตอบแทนกลับมา
มาเริ่มปลูกถั่วพูกันดีกว่า
ถั่วพูเป็นพืชล้มลุกที่ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ดและท่านสามารถเก็บเมล็ดแห้งไว้เพาะเองได้ ดังนั้นสิ่งที่เราต้องเตรียมสำหรับการเพาะปลูกถั่วพูในกระถางดังนี้
กระถางใบนี้แหละที่ผมจะนำถั่วพูมาปลูก |
ตั้งไว้เป็นแนวเลยเนื่องจากมีบ้านสามหลังติดกัน |
เมล็ดพันธุ์ถั่วพูที่จะนำมาปลูก |
- กระถางปลูกถั่วพู : กระถางต้องมีขนาดพอเหมาะหรือยิ่งใหญ่ก็จะดีเพราะการปลูกถั่วพูในกระถางนั้นท่านอย่าลืมว่าเมื่อดินมาอยูู่ในกระถางจะเกิดความร้อนเนื่องจากถูกพระอาทิตย์เผาทำให้ดินร้อน และมีผลเสียต่อพืชผักที่เราปลูกท่านจะเห็นว่าพืชผักที่ปลูกในกระถางจะหงิกงอ เพราะกระถางนั้นเล็กเกินไปทำให้ไวต่อความร้อนที่ได้รับ ผมจึงเน้นกระถางที่ใหญ่หน่อยและไม่ต้องไปหาซื้อที่ไหนเพราะที่บ้านทำอาชีพซักอบรีด ผมเลยนำภาชนะใส่น้ำยามาล้างให้ดี แล้วนำไปใส่ดิน
- ดินสำหรับปลูกถั่วพู : ดินต้องมีธาตุอาหารเพียงพอสำหรับการปลูกถั่วพูดังนั้นท่านต้องปรับสภาพดินให้เหมาะสมไม่ให้ดินเหนียวจนเกินไปเพราะหากดินเหนียวเมื่อถูกน้ำ น้ำจะไม่สามารถไหลผ่านลงไปก้นกระถางได้ทำให้ถั่วพูอาจไม่ได้รับน้ำฉะนั้นหากท่านหลีกเลี่ยงการใช้ดินเหนียวไม่ได้เรามีวิธีการผสมดินเพื่อลดความเหนียวของดินได้
- ผสมหญ้าแห้งหรือกากมะพร้าว หรือ แกลบ สับให้ละเอีอดหน่อยแล้วผสมลงไปในดิน คลุกเคล้าให้เข้ากันก่อนนำไปลงกระถาง
- ทรายหยาบ : หากดินเหนียวมาก ๆ ท่านสามารถตากดินให้แห้งแล้วผสมทรายหยาบเข้าไปช่วยทำให้ดินไม่เหนียวมากได้
- ปุ๋ยคอกหรือมูลสัตว์ : ข้อนี้ต้องมีแทนปุ๋ยเคมีที่เราใช้กันเนื่องจากการปลูกถั่วพูไว้ทานเองผมจะไม่ใส่ปุ๋ยเคมีเพราะผมจะประหยัดค่าใช้จ่าย ผมเลยไปหามูลวัวมาได้จากพื้นป่าใกล้ ๆ โชคดีจังมีชาวบ้านมาเลี้ยงวัว และผูกวัวไว้บริเวณนี้ทั้งวันทำให้ผมได้ปุ๋ยคอกมาใช้กันแบบฟรี ๆ เราต้องตากให้แห้งก่อนนะครับท่านเนื่องจากว่าหากยังสดอยู่จะทำให้ส่งกลิ่นเหม็น มีแก๊ส ไม่เหมาะกับการนำมาผสมกับดิน พอดีผมเห็นมูลวัวผมเลยไม่รอช้าครับ เข้าไปในป่าแล้วก็จัดการรวบรวมมากองไว้บนกระเบื้องเก่า ๆ เพื่อตากให้แห้ก่อน แต่ขี้วัวมีคุณภาพท่านจะเห็นได้ตอนเก็บนะครับเพราะผมสังเกตุว่ามีวัวท้องเสียอยู่ตัวนึงที่มูลวัวเละมาก แต่ผมก็นำมารวมกันเพื่อตากให้แห้งครับ ( เสียดาย ) ไปซื้อร้านขายพืชพันธุ์ราคาไม่ใช่ถูก ๆ นะ
- เมล็ดถั่วพูสำหรับขยายพันธุ์ : ก็ไม่ได้ซื้อหามานะครับพอดีผมไปส่งผ้าแล้วถามแม่บ้านว่ามีเมล็ดพันธุ์อะไรบ้างผมก็ได้ถั่วพูมาสองฝัก เป็นฝักที่แห้งพร้อมกับเปลือกเลยครับต้องมาแกะเอาเมล็ดออกเอง
มูลวัวตากแห้งสำหรับเตรียมดินปลูกถั่วพู |
กระถางดินสีดำนี่แหละมีเมล็ดถั่วพูดฝังอยู่ อายุได้ วันนี้ |
สาเหตุที่ผมเพาะเมล็ดถั่วพลูไว้ในกระถาง ? ไม่กี่เหตุผลที่ผมต้องเพาะเมล็ดพืชผักไว้ในกระถางใบเล็ก ๆ ก็คือ
- ดูแลง่าย
- รดน้ำง่าย
- สามารถนำไปปลูกลงกระถางใหญ่ ๆ ได้โดยต้นถั่วพูไม่เหี่ยวเฉา
- แดดแรง ความร้อนสูงเนื่องจากต้องการปลูกลงกระถาง ผมจึงต้องการให้ถั่วพลูแข็งแรงก่อนไปต่อสู้กับสภาพอากาศที่โหดร้าย หรือเลวร้ายขึ้นทุกวัน
- เห็นถั่วพูเจริญเติบโตทุกวันแล้วรู้สึกผ่อนคลาย หายเครียดดีผมชอบมาก ๆ
เมล็ดถั่วพูงอกแล้วครับพี่น้อง |
หลังจากที่ฝังเมล็ดถั่วพูไว้นานถึง 5 วัน วันนี้ผมก็ได้เริ่มเห็นหน้าตาของต้นถั่วพูกันแล้วครับ ผมได้ทำการย้ายกล้าถั่วพูลงไปใส่ในกระถางที่ใหญ่กว่าเพื่อจะได้เสียบไม้ได้ จริง ๆ แล้วก่อนหน้านี้ผมได้ฝังเมล็ดถั่วพูไว้อีกที่นึงเป็นที่ ที่ธรรมชาติมากไม่รดน้ำไม่ทำอะไร ตอนฝังลงดินผมก็ได้สังเกตเห็นว่ามีปลวกอาศัยอยู่แต่ผมไม่ได้คิดอะไร คิดแต่เพียงว่าตามบ้านนอกที่ผมอยู่ อยากจะปลูกอะไรก็ใช้จอบขุดไปครั้งเดียวแล้วโยนเมล็ดลงไปสัก 2-3 เมล็ดรอไม่นานก็จะมีต้นอ่อนโพล่มาแล้ว แต่ครั้งนี้ผมคิดผิดเป็นอย่างมากเรื่อของแมลงรบกวน ผมจึงอยากแนะนำสำหรับผู้ที่คิดจะปลูกถั่วพูแบบมีเมล็ดพันธุ์จำกัด
- นำลงกระถางเพาะกล้าเมล็ดพันธุ์ก่อนเพื่อง่ายต่อการดูแล
- ดูเรื่องพื้นที่ที่วางกระถางว่ามีมด แมลง หรือปลวกหรือเปล่า หากมีควรลดน้ำผสมด้วยน้ำยากำจัดปลวก ก็จะช่วยเรื่องแมลงไปได้
- รดน้ำให้มาก ๆ ชุ่ม เข้าไว้เนื่องจากเมล็ดถั่วพูระยะแรกต้องการน้ำมากเพื่อให้เมล็ดพันธุ์ดูดซึมน้ำและเจริญเติบโตได้ดี
ผมคิดไว้แล้วว่าหากต้นถั่วพูเรื่มเลื้อยแล้วผมต้องตัดไม้มาปักไว้สัก ท่อน หรือ สองท่อนเพื่อประหยัดพื้นที่ใจการเจริญเติบโตของถั่วพู เพราะฉะนั้นขนาดของกระถางถั่วพูจึงสำคัญไม่น้อยเพราะหากน้ำหนักไม่สมดุลกันกับการเจริญเติบโตของต้นถั่วพูแล้ว กระถางอาจล้มลงมาได้
ผมจะทำการติดตามการเจริญเติบโตของถั่วพูกันอย่างต่อเนื่องนะครับ เรื่องการเจริญเติบโตของถั่วพูหรือพืชทุกชนิดนั้นปัจจัยสำคัญคือแสงแดด การวางกระถางถั่วพูท่านควรวางในที่ ที่มีแสงแดดส่องถึงเพื่อการสังเคราะห์แสงที่ดีของถั่วพู
บ้านหลังนี้แม่เพิ่งซื้อใหม่กำลังทำเรื่องกับธนาคารอยู่ ด้านข้างของบ้านติดถนน จึงมีพื้นที่เพียงพอสำหรับการตั้งกระถางเมล็ดพันธุ์ ดูจากความสูงของถั่วพูแล้วก็สูงประมาณ 15 ซม. ว่าง ๆ ผมต้องไปตัดไม้มาทำค้างเดี่ยวซะแล้ว
ถั่วพูเริ่มเลื้อยแล้ว 29/5/2012 |
มุมมองตลอดสายถนนหน้าบ้าน |
จากรูปนี้ผมลองจับต้นถั่วพูดูปรากฎว่าโอนอ่อนได้ง่ายเหมือนจะหลุดออกมา ซึ่งสาเหตุที่ผมได้สังเกตุดูนั่นก็คือการฝังเมล็ด ที่ตื้นเกินไป จากลักษณะการแทงรากของต้นถั่วพูแล้วเราควรจะฝังลงดินให้ลึกประมาณ 5-7 เซนติเมตรเพื่อให้เมล็ดถั่วพูอยู่ลึกและถั่วพูจะแทงรกลงไปใต้ดิน ส่วนตรงเมล็ดนั้นไม่ใช่ใบเหมือนเมล็ดพืชทั่วไป คือลักษณะการออกลำต้นถั่วพูเหมือนออกสองด้าน ด้านล่างคือรากที่แทงดินลงไป ส่วนลำต้นจะแยกออกและดันดินโพล่ขึ้นมา ดังนั้นตรงกลางที่เป็นเมล็ดถั่วพูนั้นจึงเป็นโคนต้น ที่แทงรากออก สรุปก็คือเราต้องทำการฝังเมล็ดถั่วพูให้ลึกกว่าระดับดินครับ
สาเหตุที่ต้องฝังให้ลึกก็เพื่อการยึดเกาะที่แข็งแรงของรากถั่วพูนั้นเอง ปกติหากถั่วพูขึ้นเองตามธรรมชาติแล้ว อัตราการสั่งไหวของพื้นดินนั้นไม่มีเลยเนื่องจากปลูกลงพื้นดินบนโลกของเรา แต่กรณีปลูกถั่วพูลงกระถางนั้น ความมั่นคงแข็งแรงไม่แน่นอนเนื่องจากกระถางสามารถขยับโยกย้ายได้ การเพาะเมล็ดถั่วพูจึงต้องมีความเข้าใจเรื่องดินที่ปลูกและสภาพแวดล้อม รอบต้นถั่วพูกันอีกด้วย
10-6-2012
ต้นถั่วพูเริ่มเลื้อยแล้วครับน่าเสียดายที่เหลือต้นเดียวเนื่องจากอีกต้นถูกน้ำหยดจากหลังคาโจมประกอบกับลมทำให้โคนหักและขาดออกตาย มาถึงวันนี้ผมก็ได้ไปตัดกิ่งไม้มาเพื่อทำค้างให้กับถั่วพู เวลาถั่วเจริญเติบโตจะได้ไม่เลื้อยไปรบกวนถนนหนทางครับ รดน้ำเช้าหรือเย็นเท่านั้นบางวันก็ทั้งเช้าและเย็นลแล้วแต่ความขยันครับ เป็นการศึกษาการเจริญเติบโตของพืชแต่ละชนิดไปในตัว
ถั่วพูหากเริ่มเลื้อยท่านต้องทำค้างให้เขาเลื้อยนะแล้วเขาจะยาวเร็วมากเหมือนกับรูเลยว่าต้องรีบพันไปตามค้างที่เราทำ ต้นไม้ทุกชนิดมีชีวิตเหมือนคนครับจากการสังเกตุของผมเพียงแต่เดินไม่ได้ และไม่มีเสียงเหมืนอสุนัขเท่านั้นเอง ส่วนเรื่องอายุของถั่วพูนั้น ก็ติดตาม blog ผมนี่แหละท่านจะทราบว่าถั่วพูมีอายุถึง 1 ปีหรือไม่
Subscribe to:
Posts (Atom)